ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
ปริญญานิพนธ์ของ ศศิพรรณ สำแดงเดช
ปริญญานิพนธ์ของ ศศิพรรณ สำแดงเดช
การจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ครบทั้ง
4 ด้าน คือด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา ยังไม่ได้มีการส่งเสริม
พัฒนาการของเด็กปฐมวัยให้ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรโดยเฉพาะปัจจุบันการจัดการศึกษาให้กับ
เด็กปฐมวัยยังไมได้มีการจัดการศึกษาในลักษณะของการส่งเสริมพัฒนาความสามารถในการใช้
กระบวนการวิทยาศาสตร์และทักษะวิทยาศาสตร์เท่าที่ควร เนื่องจากการจัดการศึกษาให้กับเด็ก
ปฐมวัย ยังเน้นการสอนที่เนื้อหามากกว่ากระบวนการเรียนรู้
สุวรรณี ขอบรูปท่านได้กล่าวว่าทักษะ
กระบวนการวิทยาศาสตร์มีความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมให้กับเด็กปฐมวัย เพราะเป็น
วัยที่สามารถพัฒนาเรียนรู้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ได้อย่างมากมาย หากได้รับการจัด
ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการโดยเฉพาะทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
ประกอบด้วย ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการใช้เลขจำนวน
ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่าง สเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะ
การลงความเห็นจากข้อมูลและทักษะการทำนาย
วิธีการเรียนของเด็กมาจากประสบการณ์กิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็ก
หยิบ จับ สัมผัส จากประสบการณ์ที่เด็กได้รับนี้ จะทำให้เด็กพัฒนาตนเองได้ตามวัยและเกิดการ
เรียนรู้จากการสังเกต การคิดและเกิดความเข้าใจจากการกระทำกิจกรรมที่เรียนการสอนวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยเป็นการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็กด้วย
การสังเกต การคิด การสนทนาเพื่อสื่อสารสิ่งที่เข้าใจ และการสะท้อนความกระตือรือร้น ความ
กระหายใคร่รู้ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
1 เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทาง
วิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญที่ .01 และพบว่าทักษะด้านการสังเกต การจำแนก และการสื่อสารสูงกว่า
ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ .01
2 ก่อนการทดลองการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน โดยรวมและรายด้าน คือ ด้าน
การสังเกต ด้านการจำแนก และด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับพอใช้ หลังการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทาน
โดยรวมอยู่ในระดับดีและรายด้านคือ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก ด้านการจำแนกและการสื่อสารอยู่
ในระดับดี
นิทานที่นำมาใช้ในกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ซึ่งผู้วิจัยใช้ในการจัดกิจกรรม
เป็นนิทานที่มีเรื่องราวของวิทยาศาสตร์ที่มีทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก และทักษะการสื่อสารอยู่
ในเนื้อเรื่อง เช่น นิทานเรื่องครึ่งวงกลมสีแดงเป็นเนื้อเรื่องที่สอนให้เด็กสังเกตรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ ว่า
สามารถเป็นอะไรได้บ้าง เช่น รูปวงกลม เป็นพระอาทิตย์ รูปสามเหลี่ยมเป็นหลังคา รูปสี่เหลี่ยม เป็นโต๊ะ
,เก้าอี้ ส่วนวงกลมสีแดงเป็นอะไรได้บ้าง เด็กจะได้ใช้ความคิดตามเนื้อเรื่องในนิทานเป็นการได้ฝึกทักษะ
การสังเกต , การจำแนก รูปทรงและการสื่อสารเพื่อบอกผู้อื่นเข้าใจความหมาย เด็กสามารถบอกและคิด
ได้หลากหลายแตกต่างกัน เด็กอธิบายได้ว่า ครึ่งวงกลมสีแดงเป็นฝาหม้อ เป็นหมวก เป็นกระเป๋า ตาม
ความคิดของเด็ก
ในการจัดกิจกรรมเล่านิทานดังกล่าว เด็กได้ฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ไปด้วยและ
ได้รับความสนุกสนานและไม่เครียด เป็นผลดีต่อการพัฒนาทางสติปัญญาของเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับ
ทฤษฎีทางสังคมของแบนดูรา ที่ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการสนใจมีผลต่อการรับรู้ ถ้าเด็กมีความสนใจจะเกิด
การรับรู้ได้ดี (สุภัค ไหวหากิจ. 2543: 61) ครูจึงสามารถสอดแทรกเนื้อหาและข้อความรู้ที่ต้องการสอน
เด็กลงไปในนิทานตามจุดประสงค์ที่ต้องการได้ เป็นการเรียนรู้แบบแทรกซึม