วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

week 15


9  September  2013

อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำสิ่งประดิษฐ์
เพื่อเตรียมส่งในการเรียนครั้งต่อไป


week 14

2  September  2013

อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่อเข้ามุม

กลุ่มของข้าพเจ้า

คำแนะนำของกลุ่มข้าพเจ้า

ควรจะทำสื่อที่สามารถนำกลับมาใช้ได้หลายๆครั้ง

week 12

19  August  2013

อาจารย์ให้นักศึกษาของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอสือทดลองวิทยาศาสตร์

กลุ่มของข้าพเจ้าได้นำเสนอสื่อทดลองเรื่อง "แรงตึงผิว"
นำเสนอ  "เด็กๆเห็นอะไรบนโตะคุณครูบ้างคะ

อุปกรณ์

ตั้งสมมุติฐาน  " เด็กๆคิดว่าถ้าคุณครูหยอดสีลงไปในนมมันจะเกิดอะไรขึ้นคะ
เด็ก  :  เกิดฟองค่ะ  

การทดลอง :  ครูขออาสาคนหนึ่งมาหยอดสีให้เพื่อนๆดูหน่อยสิคะ
เด็ก :  หนูค่ะ



วิเคราะห์  :   ครูขอถามเด็กหน่อยสิคะว่า  ถ้าคุณครูหยอดน้ำยาล้างจานลงไปแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น

เด็ก  :  มันผสมสีกันค่ะ

ครู  :  ไหนเรามาพิสูจน์กันนะคะว่าถ้าครูหยอดน้ำยาล้างจานลงไปแล้ว
มันจะเป็นไปอย่างที่เด็กๆคาดหรือเปล่า






สรุป  :  น้ำนมอยู่นิ่งๆ ในจานเพราะมีแรงตึงผิว   เมื่อเราเติมน้ำยาล้างจานลงไป จะทำให้แรงตึงผิวของน้ำนมลดลง  แรงตึงผิวของน้ำนมบริเวณขอบจานที่มีมากกว่าตรงกลางทำให้น้ำนมไหลไปที่ขอบจานและพาสีผสมอาหารไปด้วย  สีต่างๆ ก็เลยเกิดการเคลื่อนที่ จนกว่าน้ำยาล้างจานจะละลายไปจนหมดนั่นเอง


รายชื่อการทดลอง
1.ลูกโป่งไฟฟ้าสถิต
2.แรงตึงผิว (กลุ่มข้าพเจ้า)
3.ขวดเป่าลูกโป่ง
4.เป่าฟองสบู่
5.ใข่จมใข่ลอย
6.จดหมาย
7.โปร่งแสงทึบแสง
8.ลาวาในขวด
9.ดูดน้ำไม่ขึ้น
10.จดหมายล่องหน
11.ขวดเป่าลูกโป่ง
12.ไฟดับ
13.ลูกโป่งติดแก้ว
14.ฟีลม์สีรุ้ง
15.เปลวไฟลอยนิ่ง
16. ทีเด็ดน้ำยาล้างจาน



สิ่งที่ได้จากการเรียน
ได้รู้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ 
นำเสนอ  --->  ตั้งสมมุติฐาน  --->  ทดลอง  ---> วิเคราะห์  ---->สรุปผล
ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
             เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัด
กิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7ทักษะกระบวนการ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา และทักษะการคำนวณ 
บทสรุป
             จากที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า การกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้น ควรจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการขั้นพื้นฐาน หรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 กระบวนการ ดังนี้ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็น ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา และทักษะการคำนวณ
อ้างอิงจาก :  http://www.bkk1.in.th/Topic.aspx?TopicID=20593

week 11

17  August  2013

วันนี้อาจารย์ได้ให้เพื่อนแต่ละคนออกไปนำเสนอ
ของเล่นสื่อวิทยาศาสตร์ของตนเองหน้าชั้นเรียน
ของสื่อของข้าพเจ้า  ได้นำเสนอ เรื่องภาพติดตา

สื่อวิทยาศาสตร์  ภาพยนตร์มือถือ
  



อุปกกรณ์
1.กระดาษสี
2.กาว
3.กรรไกร
4.ปากกาเมจิก
5.ดินสอ
6.หลอด
วิธีทำ
1.ตัดกระดาษเป็นสี่วงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง10เซนติเมตร






2.วาดภาพเคลื่อนไหวตามช่อง



















3.ระบายสีให้สวยงาม














วิธีการเล่น
นำหลอดเสียบไปที่กึ่งกลางของกระดาษในหน้าเข้ากระจกและหมุนกระดาษ  ในระหว่างที่หมุนให้มองไปทางช่องงระหว่างกระดาษจะเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว

ทฤษฎีการเห็นภาพติดตา
ทฤษฎีดังกล่าวอธิบายถึงการมองเห็นภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ไว้ว่า ธรรมชาติของสายตามนุษย์ เมื่อมองเห็นภาพใดภาพหนึ่ง หลังจากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังค้างภาพนั้นไว้ที่เรติน่าในชั่วขณะหนึ่ง ประมาณ 1/15 วินาที และหากในระยะเวลาดังกล่าวมีภาพใหม่ปรากฏขึ้นมาแทนที่สมองของมนุษย์จะเชื่อม โยงสองภาพเข้าด้วยกัน และหากมีภาพต่อไปปรากฏขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็จะเชื่อมโยงภาพไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าชุดภาพนิ่งที่แต่ภาพนั้นมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยหรือเป็นภาพที่มี ลักษณะขยับเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันอยู่แล้ว เมื่อนำมาเคลื่อนที่ผ่านตาเราอย่างต่อเนื่องในระยะเวลากระชั้นชิด เราจะสามารถเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้

week 10


mother' s  Day 

ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยริเริ่มเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2519 โดยคณะกรรมการอำนวยการ สภาสังคมสงเคราห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จนถึงปัจจุบัน 
         The August 12 of every year is Her Majesty the Queen Sirikit's birthday. This public holiday is celebrated nationwide as Mother's Day which has been first begun since the year 1976 by The National council on Social Welfare of Thailand. The Queen is considered as the mother of all Thai people.

          สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิ ซึ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและ
หอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่
ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย 

          The flower used as symbol of this day is jasmine which is naturally white colour. Its nice smell lasts for long period and spread far away. Jasmin also sprouts all year round, so we can compare this with Mother’s true love given to her children and which is never ended.

         Different countries celebrate Mother’s Day on various days of the year because the day has a number of different origins.
         ประเทศต่าง ๆ ก็จะฉลองงานวันแม่แตกต่างกันไปในแต่ละปีเพราะความสำคัญหรือความเป็นมาของแต่ละวันในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน
          One school of thought claims this day emerged from a custom of mother worship in ancient Greece, which kept a festival to Cybele, a great mother of Greeek gods. This festival was held around the Vernal Equinox .
          โรงเรียนแห่งหนึ่งอ้างว่า วันนี้เกิดมาจาก วัฒนธรรมของการเคารพและบูชาแม่ในประเทศกรีกสมัครโบราณ ซึ่งรักษาเทศกาลให้กับ Cybele แม่ของพระเจ้าของกรีกที่ยิ่งใหญ่ เทศกาลนี้ได้จัดขึ้นประมาณวันวสันตวิษุวัต ( วันในฤดูใบไม้ผลิที่มีกลางคืนและกลางวันเท่ากัน)
Source: th.wikipedia.org/wiki/วันแม่แห่งชาติ
              http://en.wikipedia.org/wiki/Mother’s Day

week 9

5  August  2013

* วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบกลางภาค   


week 8

29  July  2013

 เนื่องจากวันนี้เป็นวันที่อาจารย์จะต้องไปทำธุระที่ต่างประเทศ..
จึงให้นักศึกษาทุกคนเตรียมการนำเสนอสื่อของตนเอง

ชดเชยการเรียนการสอน

28 july  2013

*   ชดชเยการเรียนการสอน
ได้เข้าอบรมการทำกิจกรรมสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย
และได้ประดิษฐ์สื่อร่วมกัน5คนจำนวน2ชิ้น

1. ประดิษฐ์ภาพนูนขยับได้


2. ภาพเคลื่อนไหว

ภาพรวม

สิ่งที่ได้รับจากการอบรมในครั้งนี้
ได้รู้จักสื่อใหม่ๆที่สามารถนำมาประยุกค์ใช้ในการสอนได้ และสามารถต่อยอดออกไปเป็นความคิดใหม่ได้อีกด้วย


week 6 The Buddhist Lent Day

 The Buddhist Lent Day
22   july  2013

วันเข้าพรรษา - The Buddhist Lent Day
วันเข้าพรรษา ปีนี้ตรงกับวันที่ 23 กรกฏาคม 2556


วันเข้าพรรษา หรือการ เข้าพรรษา คือ การที่พระภิกษุตั้งใจว่าจะอยู่ประจำ ณ วัดใด วัดหนึ่ง ตลอดเวลา 3 เดือน ในฤดูฝน ไม่ไปค้างที่อื่นในระหว่างนั้น
“เข้าพรรษา” แปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝนโดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แต่พอเข้าฤดูฝนถนนหนทางเป็นโคลนเลนทั่วไปหมด และทางเดินบ้างสายต้องผ่านไร่นา ซึ่งเจ้าของเขาไถ่หว่านปลูกพืชทั่วบริเวณทั่วบริเวณเสียแล้ว การเดินทางไม่สู้สะดวก จึงไม่มีใครไปไหนมาไหนโดยไม่จำเป็น เพราะเกรงจะเหยียบย่ำเข้าไปในนาทำทำให้เกิดความเสียหาน พระพุทธองค์ทรงทราบดี จึงตั้งระเบียบการจำพรรษาขึ้น ให้พระภิกษุสงฆ์หยุดพักการเดินทางระหว่างฤดูฝน กำหนดตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 รวมเวลา 3 เดือนเต็มเว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด

ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า “วิหาร” แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย เหตุประการสุดท้ายนี้ฐานพระพุทธรูปไป บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า“อาราม” ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังนี้เช่นปัจจุบันนี้
โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระ ตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าจำนำพรรษา หรือผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา
การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด รับว่าเป็นประโยชน์

week5

15  July  2013

อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอสืื่อวิทยาศาสตร์ ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

จากนั้นอาจารย์ให้ดู VDO  2เรื่องได้แก่
1.ISCI  ความฉลาดแบบยกกำลังสอง  เรื่อง "ลูกโปร่งรับน้ำหนัก"

2.รู้รอบโลกวิทยาศาสตร์ : เรื่อง "เมล็ดจะงอกไหม"

http://clip.thaipbs.or.th/home.php?vid=6536&ap=flase

ได้อะไรจากการเรียน
-ต้องให้สื่อที่ทำนั้นเด็กสามารถทำเล่นเองที่บ้านได้
-เด็กต้องได้ความรู้และความสนุกกับสื่อ

งานที่ได้รับมอบหมาย
1.สื่อวิทยาศาสตร์ เข้ามุม
2.สื่อการทดลองวิทยาศาตร์
3.สื่อประดิษฐ์วิทยาศาสตร์