วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน

ปริญญานิพนธ์ของ    ศศิพรรณ สำแดงเดช


การจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ครบทั้ง
4 ด้าน คือด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา ยังไม่ได้มีการส่งเสริม
พัฒนาการของเด็กปฐมวัยให้ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรโดยเฉพาะปัจจุบันการจัดการศึกษาให้กับ
เด็กปฐมวัยยังไมได้มีการจัดการศึกษาในลักษณะของการส่งเสริมพัฒนาความสามารถในการใช้
กระบวนการวิทยาศาสตร์และทักษะวิทยาศาสตร์เท่าที่ควร เนื่องจากการจัดการศึกษาให้กับเด็ก
ปฐมวัย ยังเน้นการสอนที่เนื้อหามากกว่ากระบวนการเรียนรู้
สุวรรณี ขอบรูปท่านได้กล่าวว่าทักษะ
กระบวนการวิทยาศาสตร์มีความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมให้กับเด็กปฐมวัย เพราะเป็น
วัยที่สามารถพัฒนาเรียนรู้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ได้อย่างมากมาย หากได้รับการจัด
ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการโดยเฉพาะทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
ประกอบด้วย ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการใช้เลขจำนวน
ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่าง สเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะ
การลงความเห็นจากข้อมูลและทักษะการทำนาย
วิธีการเรียนของเด็กมาจากประสบการณ์กิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็ก
หยิบ จับ สัมผัส จากประสบการณ์ที่เด็กได้รับนี้ จะทำให้เด็กพัฒนาตนเองได้ตามวัยและเกิดการ
เรียนรู้จากการสังเกต การคิดและเกิดความเข้าใจจากการกระทำกิจกรรมที่เรียนการสอนวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยเป็นการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็กด้วย
การสังเกต การคิด การสนทนาเพื่อสื่อสารสิ่งที่เข้าใจ และการสะท้อนความกระตือรือร้น ความ
กระหายใคร่รู้ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
1 เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทาง
วิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญที่ .01 และพบว่าทักษะด้านการสังเกต การจำแนก และการสื่อสารสูงกว่า
ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ .01
2 ก่อนการทดลองการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน โดยรวมและรายด้าน คือ ด้าน
การสังเกต ด้านการจำแนก และด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับพอใช้ หลังการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทาน
โดยรวมอยู่ในระดับดีและรายด้านคือ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก ด้านการจำแนกและการสื่อสารอยู่
ในระดับดี
นิทานที่นำมาใช้ในกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ซึ่งผู้วิจัยใช้ในการจัดกิจกรรม
เป็นนิทานที่มีเรื่องราวของวิทยาศาสตร์ที่มีทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก และทักษะการสื่อสารอยู่
ในเนื้อเรื่อง เช่น นิทานเรื่องครึ่งวงกลมสีแดงเป็นเนื้อเรื่องที่สอนให้เด็กสังเกตรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ ว่า
สามารถเป็นอะไรได้บ้าง เช่น รูปวงกลม เป็นพระอาทิตย์ รูปสามเหลี่ยมเป็นหลังคา รูปสี่เหลี่ยม เป็นโต๊ะ
,เก้าอี้ ส่วนวงกลมสีแดงเป็นอะไรได้บ้าง เด็กจะได้ใช้ความคิดตามเนื้อเรื่องในนิทานเป็นการได้ฝึกทักษะ
การสังเกต , การจำแนก รูปทรงและการสื่อสารเพื่อบอกผู้อื่นเข้าใจความหมาย เด็กสามารถบอกและคิด
ได้หลากหลายแตกต่างกัน เด็กอธิบายได้ว่า ครึ่งวงกลมสีแดงเป็นฝาหม้อ เป็นหมวก เป็นกระเป๋า ตาม
ความคิดของเด็ก
ในการจัดกิจกรรมเล่านิทานดังกล่าว เด็กได้ฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ไปด้วยและ
ได้รับความสนุกสนานและไม่เครียด เป็นผลดีต่อการพัฒนาทางสติปัญญาของเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับ
ทฤษฎีทางสังคมของแบนดูรา ที่ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการสนใจมีผลต่อการรับรู้ ถ้าเด็กมีความสนใจจะเกิด
การรับรู้ได้ดี (สุภัค ไหวหากิจ. 2543: 61) ครูจึงสามารถสอดแทรกเนื้อหาและข้อความรู้ที่ต้องการสอน
เด็กลงไปในนิทานตามจุดประสงค์ที่ต้องการได้ เป็นการเรียนรู้แบบแทรกซึม


Week 19

30  September 2013

อาจารย์ให้นักศึกษาส่งสื่อทุกชิ้นและรวมกลุ่มสื่อการจัดเข้ามุมป็นที่เดียวกัน





สิ่งที่ได้รับจากการเรียนการสอน

การเรียนรู้ที่จะทำงานออกมาอย่างสร้างสรรค์   ปราณีต และการทำสื่อควรที่จะประดิษฐ์สื่อที่สามารถนำกลับไปใช้ได้หลากหลายวิชา  เพราะเราได้ประดิษฐ์ผลงานออกมาแล้ว  จะได้ประหยัดเวลาในการทำงาน  ควรจะประยุกต์ใช้ได้อีก  หลายครั้้งและทนทานต่อมือเด็กเพราะเเด็กยังไม่สามารถถนอมของได้ดีกว่าผู้ใหญ่ดังนั้นการที่จะผลิตสื่อควรที่จะทำออกมาอย่างคงทน  การสอนการจัดประสบการณืควรที่จะให้เด็กสังเกต  วิเคราะห์  สังเคราะห์ ด้วยตนเอง  สิ่งใดที่ยังไม่สามารถคิดได้ คุณครูควรเสริมให้เขาเข้าใจ  และไม่ควรบอกให้เขารู้โดยที่เขายังไม่ได้คิด  เมื่อจบกิจกรรม  ควรที่จะสรุปองค์ความรู้ทั้งหมดที่ทำมา เพื่อที่เด็กจะเข้าใจและจดจำได้

Week 18

23  September  2013

กิจกรรมการทำอาหารสำหรับเด็ก


ทำแกงจืด


ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1.   เด็กๆเห็นอะไรที่คุณครูเตรียมมาบ้างคะ(เด็กตอบ)สังเกต
2.   เด็กๆคิดว่าสามารถนำของทั้งหมดนี้มาทำอะไรได้บ้างคะ(เด็กตอบ)ทบทวนความรู้เดิม
3.   วันนี้เราจะมาทำแกงจืดกัน  เด็กๆคนไหนช่วยคุณพ่อคุณแม่ทำอาหารที่บ้านบ้างคะ
      (เด็กตอบ)
4.    เรามาทำกันเลย   ขั้นตนแรกต้องน้ำน้ำซุปใส่หม้อต้ม  เด็กๆคนไหนอยากทำบ้างคะ
       (เด็กลงมือทำ)
5.    เมื่อน้ำเดือดใส่หมูลงไป  เด็กๆคิดว่าถ้าคุณครูใส่หมูลงไปในหม้อมันจะเกิดอะไีรขึ้นคะ(เด็ก          ตอบ)วิเคราะห์เด็กคนไหนอยากช่วยคุณครูใส่หมูลงไปบ้าง
6.    ในขณะที่รอให้หมูสุกคุณครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง
7.    เมื่อหมูสุกได้ที่แล้ว ถามเด็กๆว่าหมูมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหลังจากลงหม้อแล้วและเพราะ        อะไรมันถึงเป็นแบบนั้น(เด็กตอบ)สังเคราะห์
8.    ใส่ผักลงไปในหม้อ  เด็กคนไหนอยากช่วยคุณครูใส่ผักบ้างคะ(เด็กตอบ)
9.    เมื่อผุกสุกแล้วให้เด็กลองดูสิคะว่าผักมีลักษณะอย่างไรหลังจากที่ลงไปในหม้อแล้ว
(เด็กตอบ)
10.  ตักแกงจืดใส่ถ้วยและแจกทุกคน  เด็กๆคนไหนอยากช่วยคุณครูแจกแกงจืดให้เพื่อนบ้างคะ(เด็กตอบ)
11.  วันนี้เพื่อนของเรามากันกี่คนคะเด็กๆช่วยกันนับสิคะ
       (เด็กนับ)
12.   แจกแกงจืดตามจำนวนเด็ก
13.   หลังจากทานแล้วเด็กๆบอกคุณครูถึงวิธีการทำแกงจืดให้คุณครูฟังได้ไหมคะ
       (เด็กตอบ)สรุปองค์ความรู้




บรรยากาศในการจัดกิจกรรม



Week17

22 September  2013


อาจารย์ตฤณ ได้ให้นักศึกษาเขียนแผนการจัดประสบการณ์เรื่องการทำอากหาร(cookig)
โดยแบ่งกลุ่ม6กลุ่มในการเขียนแผน
ได้แก่กกลุ่มที่1  แกงจืด
กลุ่มที่2  ใข่พะโล
กลุ่มที่3ข้าวผัด
กลุ่มที่4.ใข่เจียว
กลุ่มที่5  ผัดผักรวมมิตร
กลุ่มที่6  

กลุ่มของข้าพเจ้าได้ทำเรื่อง  ข้าวผัด

แผ่นที่1 Cooking



แผ่นที่2  ส่วนประกอบของข้าวผัด



แผ่นที่3  ส่วนดำเนินการ


จากนั้นอาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผนของกลุ่มจากนั้นให้นักศึกษาเลือกว่าจะให้กลุ่มใดออกมาจัดประสบการณ์

กลุ่มที่ได้จัดกิจกรรมคือกลุ่มที่ทำแกงจืด



บรรยากาศในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์

Week 16

16 september  2013


วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนองานสื่อ
ทางวิทยาศาสตร์ที่บางคนยังไม่ผ่านจึงได้มีการนำเสนอใหม่ดังนี้


1.กระป๋องผิวปาก  เกิดจากแรงลมที่เข้าไปในกระป๋องทำให้เกิดเสียง
2.ปลาร้องเพลง  ทำให้เกิดเสียงจากแรงลมที่ไปกระทบกับกระดาษจึงเกิดเสียงกระดาษกระทบกัน
3.ขวดลูกเด้ง  สอนในเรื่องแรงเสียดทาน
4.กิ่งก่าไต่เชือก
5.กระป๋องบูมเมอแรง
6.ตุ๊กตาล้มลุก


การทดลอง
1.กาลักน้ำ
เป็นกระบวนการถ่ายเทของเหลว จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยหลักการของแรงดันน้ำมาช่วย ในการทำกาลักน้ำ จะต้องมีหลอดหรือท่อสำหรับการถ่ายเทของเหลวนั้นๆ โดยที่ของเหลวที่จะถ่ายออก จะต้องมีระดับความสูงมากกว่าระดับของเหลวในภาชนะที่รองรับ

2.ตะเกียบยกขวด







3ดอกไม้บาน




สื่อที่จัดในมุมการศึกษา
1. ภาพนูน2มิติ
2.นิทานในกล่อง
3.ลูกบอลกลิ้ง
4น้ำหนักที่แตกต่าง
5.วงจรชีวิตสัตว์
6.ซูโม่กระดาษ
7.จับคู่ให้ถูก
8.ภาพเปลี่ยนสี
9.กล่องมหัศจรรย์


สิ่งที่ได้จากการเรียน

ได้ทราบถึงความสำคัญของการทำบล็อกสรุปวิชาการ  เพราะในแต่ละวันแต่ละวิชา นักศึกษาต่างได้เรียนในหลากหลายวิชาในแต่ละวัน  ทำให้ไม่สามารถที่จะเก็บความรู้นั้นไปได้หมด  จึงต้องมีการสรุปทบทวนอยู่สมำเสมอ  จะทำให้เก็บความรู้ที่เรียนใแต่ละวันได้ไม่มากก็น้อย  การสร้างบล็อกไว้เก็บผลงาน  นอกจากจะเป็นการร่วบรวมองค์ความรู้ในแต่ละวันลงในบล็อกแล้ว  ยังสามารถเผยแพร่ความรู้ให้กับบุคคลอื่นได้อีก  สามารถที่จะให้ผู้อื่นนำความรู้ไปใช้ได้มากกว่าแค่จดลงบนสมุดหนังสือ  การสร้างบล็อกไม่ใช่แค่การนำเนื้อหาลงไปเท่านั้นแต่ยังสามารถนำสื่อที่เราประดิษฐ์ขึ้นมา  สามารถให้ผู้อื่นนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้  จึงเปนประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นต่อไป

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

week 15


9  September  2013

อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำสิ่งประดิษฐ์
เพื่อเตรียมส่งในการเรียนครั้งต่อไป


week 14

2  September  2013

อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่อเข้ามุม

กลุ่มของข้าพเจ้า

คำแนะนำของกลุ่มข้าพเจ้า

ควรจะทำสื่อที่สามารถนำกลับมาใช้ได้หลายๆครั้ง