วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน

ปริญญานิพนธ์ของ    ศศิพรรณ สำแดงเดช


การจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ครบทั้ง
4 ด้าน คือด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา ยังไม่ได้มีการส่งเสริม
พัฒนาการของเด็กปฐมวัยให้ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรโดยเฉพาะปัจจุบันการจัดการศึกษาให้กับ
เด็กปฐมวัยยังไมได้มีการจัดการศึกษาในลักษณะของการส่งเสริมพัฒนาความสามารถในการใช้
กระบวนการวิทยาศาสตร์และทักษะวิทยาศาสตร์เท่าที่ควร เนื่องจากการจัดการศึกษาให้กับเด็ก
ปฐมวัย ยังเน้นการสอนที่เนื้อหามากกว่ากระบวนการเรียนรู้
สุวรรณี ขอบรูปท่านได้กล่าวว่าทักษะ
กระบวนการวิทยาศาสตร์มีความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมให้กับเด็กปฐมวัย เพราะเป็น
วัยที่สามารถพัฒนาเรียนรู้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ได้อย่างมากมาย หากได้รับการจัด
ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการโดยเฉพาะทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
ประกอบด้วย ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการใช้เลขจำนวน
ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่าง สเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะ
การลงความเห็นจากข้อมูลและทักษะการทำนาย
วิธีการเรียนของเด็กมาจากประสบการณ์กิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็ก
หยิบ จับ สัมผัส จากประสบการณ์ที่เด็กได้รับนี้ จะทำให้เด็กพัฒนาตนเองได้ตามวัยและเกิดการ
เรียนรู้จากการสังเกต การคิดและเกิดความเข้าใจจากการกระทำกิจกรรมที่เรียนการสอนวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยเป็นการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็กด้วย
การสังเกต การคิด การสนทนาเพื่อสื่อสารสิ่งที่เข้าใจ และการสะท้อนความกระตือรือร้น ความ
กระหายใคร่รู้ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
1 เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทาง
วิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญที่ .01 และพบว่าทักษะด้านการสังเกต การจำแนก และการสื่อสารสูงกว่า
ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ .01
2 ก่อนการทดลองการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน โดยรวมและรายด้าน คือ ด้าน
การสังเกต ด้านการจำแนก และด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับพอใช้ หลังการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทาน
โดยรวมอยู่ในระดับดีและรายด้านคือ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก ด้านการจำแนกและการสื่อสารอยู่
ในระดับดี
นิทานที่นำมาใช้ในกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ซึ่งผู้วิจัยใช้ในการจัดกิจกรรม
เป็นนิทานที่มีเรื่องราวของวิทยาศาสตร์ที่มีทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก และทักษะการสื่อสารอยู่
ในเนื้อเรื่อง เช่น นิทานเรื่องครึ่งวงกลมสีแดงเป็นเนื้อเรื่องที่สอนให้เด็กสังเกตรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ ว่า
สามารถเป็นอะไรได้บ้าง เช่น รูปวงกลม เป็นพระอาทิตย์ รูปสามเหลี่ยมเป็นหลังคา รูปสี่เหลี่ยม เป็นโต๊ะ
,เก้าอี้ ส่วนวงกลมสีแดงเป็นอะไรได้บ้าง เด็กจะได้ใช้ความคิดตามเนื้อเรื่องในนิทานเป็นการได้ฝึกทักษะ
การสังเกต , การจำแนก รูปทรงและการสื่อสารเพื่อบอกผู้อื่นเข้าใจความหมาย เด็กสามารถบอกและคิด
ได้หลากหลายแตกต่างกัน เด็กอธิบายได้ว่า ครึ่งวงกลมสีแดงเป็นฝาหม้อ เป็นหมวก เป็นกระเป๋า ตาม
ความคิดของเด็ก
ในการจัดกิจกรรมเล่านิทานดังกล่าว เด็กได้ฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ไปด้วยและ
ได้รับความสนุกสนานและไม่เครียด เป็นผลดีต่อการพัฒนาทางสติปัญญาของเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับ
ทฤษฎีทางสังคมของแบนดูรา ที่ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการสนใจมีผลต่อการรับรู้ ถ้าเด็กมีความสนใจจะเกิด
การรับรู้ได้ดี (สุภัค ไหวหากิจ. 2543: 61) ครูจึงสามารถสอดแทรกเนื้อหาและข้อความรู้ที่ต้องการสอน
เด็กลงไปในนิทานตามจุดประสงค์ที่ต้องการได้ เป็นการเรียนรู้แบบแทรกซึม


Week 19

30  September 2013

อาจารย์ให้นักศึกษาส่งสื่อทุกชิ้นและรวมกลุ่มสื่อการจัดเข้ามุมป็นที่เดียวกัน





สิ่งที่ได้รับจากการเรียนการสอน

การเรียนรู้ที่จะทำงานออกมาอย่างสร้างสรรค์   ปราณีต และการทำสื่อควรที่จะประดิษฐ์สื่อที่สามารถนำกลับไปใช้ได้หลากหลายวิชา  เพราะเราได้ประดิษฐ์ผลงานออกมาแล้ว  จะได้ประหยัดเวลาในการทำงาน  ควรจะประยุกต์ใช้ได้อีก  หลายครั้้งและทนทานต่อมือเด็กเพราะเเด็กยังไม่สามารถถนอมของได้ดีกว่าผู้ใหญ่ดังนั้นการที่จะผลิตสื่อควรที่จะทำออกมาอย่างคงทน  การสอนการจัดประสบการณืควรที่จะให้เด็กสังเกต  วิเคราะห์  สังเคราะห์ ด้วยตนเอง  สิ่งใดที่ยังไม่สามารถคิดได้ คุณครูควรเสริมให้เขาเข้าใจ  และไม่ควรบอกให้เขารู้โดยที่เขายังไม่ได้คิด  เมื่อจบกิจกรรม  ควรที่จะสรุปองค์ความรู้ทั้งหมดที่ทำมา เพื่อที่เด็กจะเข้าใจและจดจำได้

Week 18

23  September  2013

กิจกรรมการทำอาหารสำหรับเด็ก


ทำแกงจืด


ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1.   เด็กๆเห็นอะไรที่คุณครูเตรียมมาบ้างคะ(เด็กตอบ)สังเกต
2.   เด็กๆคิดว่าสามารถนำของทั้งหมดนี้มาทำอะไรได้บ้างคะ(เด็กตอบ)ทบทวนความรู้เดิม
3.   วันนี้เราจะมาทำแกงจืดกัน  เด็กๆคนไหนช่วยคุณพ่อคุณแม่ทำอาหารที่บ้านบ้างคะ
      (เด็กตอบ)
4.    เรามาทำกันเลย   ขั้นตนแรกต้องน้ำน้ำซุปใส่หม้อต้ม  เด็กๆคนไหนอยากทำบ้างคะ
       (เด็กลงมือทำ)
5.    เมื่อน้ำเดือดใส่หมูลงไป  เด็กๆคิดว่าถ้าคุณครูใส่หมูลงไปในหม้อมันจะเกิดอะไีรขึ้นคะ(เด็ก          ตอบ)วิเคราะห์เด็กคนไหนอยากช่วยคุณครูใส่หมูลงไปบ้าง
6.    ในขณะที่รอให้หมูสุกคุณครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง
7.    เมื่อหมูสุกได้ที่แล้ว ถามเด็กๆว่าหมูมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหลังจากลงหม้อแล้วและเพราะ        อะไรมันถึงเป็นแบบนั้น(เด็กตอบ)สังเคราะห์
8.    ใส่ผักลงไปในหม้อ  เด็กคนไหนอยากช่วยคุณครูใส่ผักบ้างคะ(เด็กตอบ)
9.    เมื่อผุกสุกแล้วให้เด็กลองดูสิคะว่าผักมีลักษณะอย่างไรหลังจากที่ลงไปในหม้อแล้ว
(เด็กตอบ)
10.  ตักแกงจืดใส่ถ้วยและแจกทุกคน  เด็กๆคนไหนอยากช่วยคุณครูแจกแกงจืดให้เพื่อนบ้างคะ(เด็กตอบ)
11.  วันนี้เพื่อนของเรามากันกี่คนคะเด็กๆช่วยกันนับสิคะ
       (เด็กนับ)
12.   แจกแกงจืดตามจำนวนเด็ก
13.   หลังจากทานแล้วเด็กๆบอกคุณครูถึงวิธีการทำแกงจืดให้คุณครูฟังได้ไหมคะ
       (เด็กตอบ)สรุปองค์ความรู้




บรรยากาศในการจัดกิจกรรม



Week17

22 September  2013


อาจารย์ตฤณ ได้ให้นักศึกษาเขียนแผนการจัดประสบการณ์เรื่องการทำอากหาร(cookig)
โดยแบ่งกลุ่ม6กลุ่มในการเขียนแผน
ได้แก่กกลุ่มที่1  แกงจืด
กลุ่มที่2  ใข่พะโล
กลุ่มที่3ข้าวผัด
กลุ่มที่4.ใข่เจียว
กลุ่มที่5  ผัดผักรวมมิตร
กลุ่มที่6  

กลุ่มของข้าพเจ้าได้ทำเรื่อง  ข้าวผัด

แผ่นที่1 Cooking



แผ่นที่2  ส่วนประกอบของข้าวผัด



แผ่นที่3  ส่วนดำเนินการ


จากนั้นอาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผนของกลุ่มจากนั้นให้นักศึกษาเลือกว่าจะให้กลุ่มใดออกมาจัดประสบการณ์

กลุ่มที่ได้จัดกิจกรรมคือกลุ่มที่ทำแกงจืด



บรรยากาศในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์

Week 16

16 september  2013


วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนองานสื่อ
ทางวิทยาศาสตร์ที่บางคนยังไม่ผ่านจึงได้มีการนำเสนอใหม่ดังนี้


1.กระป๋องผิวปาก  เกิดจากแรงลมที่เข้าไปในกระป๋องทำให้เกิดเสียง
2.ปลาร้องเพลง  ทำให้เกิดเสียงจากแรงลมที่ไปกระทบกับกระดาษจึงเกิดเสียงกระดาษกระทบกัน
3.ขวดลูกเด้ง  สอนในเรื่องแรงเสียดทาน
4.กิ่งก่าไต่เชือก
5.กระป๋องบูมเมอแรง
6.ตุ๊กตาล้มลุก


การทดลอง
1.กาลักน้ำ
เป็นกระบวนการถ่ายเทของเหลว จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยหลักการของแรงดันน้ำมาช่วย ในการทำกาลักน้ำ จะต้องมีหลอดหรือท่อสำหรับการถ่ายเทของเหลวนั้นๆ โดยที่ของเหลวที่จะถ่ายออก จะต้องมีระดับความสูงมากกว่าระดับของเหลวในภาชนะที่รองรับ

2.ตะเกียบยกขวด







3ดอกไม้บาน




สื่อที่จัดในมุมการศึกษา
1. ภาพนูน2มิติ
2.นิทานในกล่อง
3.ลูกบอลกลิ้ง
4น้ำหนักที่แตกต่าง
5.วงจรชีวิตสัตว์
6.ซูโม่กระดาษ
7.จับคู่ให้ถูก
8.ภาพเปลี่ยนสี
9.กล่องมหัศจรรย์


สิ่งที่ได้จากการเรียน

ได้ทราบถึงความสำคัญของการทำบล็อกสรุปวิชาการ  เพราะในแต่ละวันแต่ละวิชา นักศึกษาต่างได้เรียนในหลากหลายวิชาในแต่ละวัน  ทำให้ไม่สามารถที่จะเก็บความรู้นั้นไปได้หมด  จึงต้องมีการสรุปทบทวนอยู่สมำเสมอ  จะทำให้เก็บความรู้ที่เรียนใแต่ละวันได้ไม่มากก็น้อย  การสร้างบล็อกไว้เก็บผลงาน  นอกจากจะเป็นการร่วบรวมองค์ความรู้ในแต่ละวันลงในบล็อกแล้ว  ยังสามารถเผยแพร่ความรู้ให้กับบุคคลอื่นได้อีก  สามารถที่จะให้ผู้อื่นนำความรู้ไปใช้ได้มากกว่าแค่จดลงบนสมุดหนังสือ  การสร้างบล็อกไม่ใช่แค่การนำเนื้อหาลงไปเท่านั้นแต่ยังสามารถนำสื่อที่เราประดิษฐ์ขึ้นมา  สามารถให้ผู้อื่นนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้  จึงเปนประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นต่อไป

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

week 15


9  September  2013

อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำสิ่งประดิษฐ์
เพื่อเตรียมส่งในการเรียนครั้งต่อไป


week 14

2  September  2013

อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่อเข้ามุม

กลุ่มของข้าพเจ้า

คำแนะนำของกลุ่มข้าพเจ้า

ควรจะทำสื่อที่สามารถนำกลับมาใช้ได้หลายๆครั้ง

week 12

19  August  2013

อาจารย์ให้นักศึกษาของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอสือทดลองวิทยาศาสตร์

กลุ่มของข้าพเจ้าได้นำเสนอสื่อทดลองเรื่อง "แรงตึงผิว"
นำเสนอ  "เด็กๆเห็นอะไรบนโตะคุณครูบ้างคะ

อุปกรณ์

ตั้งสมมุติฐาน  " เด็กๆคิดว่าถ้าคุณครูหยอดสีลงไปในนมมันจะเกิดอะไรขึ้นคะ
เด็ก  :  เกิดฟองค่ะ  

การทดลอง :  ครูขออาสาคนหนึ่งมาหยอดสีให้เพื่อนๆดูหน่อยสิคะ
เด็ก :  หนูค่ะ



วิเคราะห์  :   ครูขอถามเด็กหน่อยสิคะว่า  ถ้าคุณครูหยอดน้ำยาล้างจานลงไปแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น

เด็ก  :  มันผสมสีกันค่ะ

ครู  :  ไหนเรามาพิสูจน์กันนะคะว่าถ้าครูหยอดน้ำยาล้างจานลงไปแล้ว
มันจะเป็นไปอย่างที่เด็กๆคาดหรือเปล่า






สรุป  :  น้ำนมอยู่นิ่งๆ ในจานเพราะมีแรงตึงผิว   เมื่อเราเติมน้ำยาล้างจานลงไป จะทำให้แรงตึงผิวของน้ำนมลดลง  แรงตึงผิวของน้ำนมบริเวณขอบจานที่มีมากกว่าตรงกลางทำให้น้ำนมไหลไปที่ขอบจานและพาสีผสมอาหารไปด้วย  สีต่างๆ ก็เลยเกิดการเคลื่อนที่ จนกว่าน้ำยาล้างจานจะละลายไปจนหมดนั่นเอง


รายชื่อการทดลอง
1.ลูกโป่งไฟฟ้าสถิต
2.แรงตึงผิว (กลุ่มข้าพเจ้า)
3.ขวดเป่าลูกโป่ง
4.เป่าฟองสบู่
5.ใข่จมใข่ลอย
6.จดหมาย
7.โปร่งแสงทึบแสง
8.ลาวาในขวด
9.ดูดน้ำไม่ขึ้น
10.จดหมายล่องหน
11.ขวดเป่าลูกโป่ง
12.ไฟดับ
13.ลูกโป่งติดแก้ว
14.ฟีลม์สีรุ้ง
15.เปลวไฟลอยนิ่ง
16. ทีเด็ดน้ำยาล้างจาน



สิ่งที่ได้จากการเรียน
ได้รู้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ 
นำเสนอ  --->  ตั้งสมมุติฐาน  --->  ทดลอง  ---> วิเคราะห์  ---->สรุปผล
ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
             เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัด
กิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7ทักษะกระบวนการ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา และทักษะการคำนวณ 
บทสรุป
             จากที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า การกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้น ควรจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการขั้นพื้นฐาน หรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 กระบวนการ ดังนี้ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็น ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา และทักษะการคำนวณ
อ้างอิงจาก :  http://www.bkk1.in.th/Topic.aspx?TopicID=20593

week 11

17  August  2013

วันนี้อาจารย์ได้ให้เพื่อนแต่ละคนออกไปนำเสนอ
ของเล่นสื่อวิทยาศาสตร์ของตนเองหน้าชั้นเรียน
ของสื่อของข้าพเจ้า  ได้นำเสนอ เรื่องภาพติดตา

สื่อวิทยาศาสตร์  ภาพยนตร์มือถือ
  



อุปกกรณ์
1.กระดาษสี
2.กาว
3.กรรไกร
4.ปากกาเมจิก
5.ดินสอ
6.หลอด
วิธีทำ
1.ตัดกระดาษเป็นสี่วงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง10เซนติเมตร






2.วาดภาพเคลื่อนไหวตามช่อง



















3.ระบายสีให้สวยงาม














วิธีการเล่น
นำหลอดเสียบไปที่กึ่งกลางของกระดาษในหน้าเข้ากระจกและหมุนกระดาษ  ในระหว่างที่หมุนให้มองไปทางช่องงระหว่างกระดาษจะเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว

ทฤษฎีการเห็นภาพติดตา
ทฤษฎีดังกล่าวอธิบายถึงการมองเห็นภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ไว้ว่า ธรรมชาติของสายตามนุษย์ เมื่อมองเห็นภาพใดภาพหนึ่ง หลังจากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังค้างภาพนั้นไว้ที่เรติน่าในชั่วขณะหนึ่ง ประมาณ 1/15 วินาที และหากในระยะเวลาดังกล่าวมีภาพใหม่ปรากฏขึ้นมาแทนที่สมองของมนุษย์จะเชื่อม โยงสองภาพเข้าด้วยกัน และหากมีภาพต่อไปปรากฏขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็จะเชื่อมโยงภาพไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าชุดภาพนิ่งที่แต่ภาพนั้นมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยหรือเป็นภาพที่มี ลักษณะขยับเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันอยู่แล้ว เมื่อนำมาเคลื่อนที่ผ่านตาเราอย่างต่อเนื่องในระยะเวลากระชั้นชิด เราจะสามารถเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้

week 10


mother' s  Day 

ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยริเริ่มเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2519 โดยคณะกรรมการอำนวยการ สภาสังคมสงเคราห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จนถึงปัจจุบัน 
         The August 12 of every year is Her Majesty the Queen Sirikit's birthday. This public holiday is celebrated nationwide as Mother's Day which has been first begun since the year 1976 by The National council on Social Welfare of Thailand. The Queen is considered as the mother of all Thai people.

          สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิ ซึ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและ
หอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่
ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย 

          The flower used as symbol of this day is jasmine which is naturally white colour. Its nice smell lasts for long period and spread far away. Jasmin also sprouts all year round, so we can compare this with Mother’s true love given to her children and which is never ended.

         Different countries celebrate Mother’s Day on various days of the year because the day has a number of different origins.
         ประเทศต่าง ๆ ก็จะฉลองงานวันแม่แตกต่างกันไปในแต่ละปีเพราะความสำคัญหรือความเป็นมาของแต่ละวันในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน
          One school of thought claims this day emerged from a custom of mother worship in ancient Greece, which kept a festival to Cybele, a great mother of Greeek gods. This festival was held around the Vernal Equinox .
          โรงเรียนแห่งหนึ่งอ้างว่า วันนี้เกิดมาจาก วัฒนธรรมของการเคารพและบูชาแม่ในประเทศกรีกสมัครโบราณ ซึ่งรักษาเทศกาลให้กับ Cybele แม่ของพระเจ้าของกรีกที่ยิ่งใหญ่ เทศกาลนี้ได้จัดขึ้นประมาณวันวสันตวิษุวัต ( วันในฤดูใบไม้ผลิที่มีกลางคืนและกลางวันเท่ากัน)
Source: th.wikipedia.org/wiki/วันแม่แห่งชาติ
              http://en.wikipedia.org/wiki/Mother’s Day

week 9

5  August  2013

* วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบกลางภาค   


week 8

29  July  2013

 เนื่องจากวันนี้เป็นวันที่อาจารย์จะต้องไปทำธุระที่ต่างประเทศ..
จึงให้นักศึกษาทุกคนเตรียมการนำเสนอสื่อของตนเอง

ชดเชยการเรียนการสอน

28 july  2013

*   ชดชเยการเรียนการสอน
ได้เข้าอบรมการทำกิจกรรมสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย
และได้ประดิษฐ์สื่อร่วมกัน5คนจำนวน2ชิ้น

1. ประดิษฐ์ภาพนูนขยับได้


2. ภาพเคลื่อนไหว

ภาพรวม

สิ่งที่ได้รับจากการอบรมในครั้งนี้
ได้รู้จักสื่อใหม่ๆที่สามารถนำมาประยุกค์ใช้ในการสอนได้ และสามารถต่อยอดออกไปเป็นความคิดใหม่ได้อีกด้วย


week 6 The Buddhist Lent Day

 The Buddhist Lent Day
22   july  2013

วันเข้าพรรษา - The Buddhist Lent Day
วันเข้าพรรษา ปีนี้ตรงกับวันที่ 23 กรกฏาคม 2556


วันเข้าพรรษา หรือการ เข้าพรรษา คือ การที่พระภิกษุตั้งใจว่าจะอยู่ประจำ ณ วัดใด วัดหนึ่ง ตลอดเวลา 3 เดือน ในฤดูฝน ไม่ไปค้างที่อื่นในระหว่างนั้น
“เข้าพรรษา” แปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝนโดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แต่พอเข้าฤดูฝนถนนหนทางเป็นโคลนเลนทั่วไปหมด และทางเดินบ้างสายต้องผ่านไร่นา ซึ่งเจ้าของเขาไถ่หว่านปลูกพืชทั่วบริเวณทั่วบริเวณเสียแล้ว การเดินทางไม่สู้สะดวก จึงไม่มีใครไปไหนมาไหนโดยไม่จำเป็น เพราะเกรงจะเหยียบย่ำเข้าไปในนาทำทำให้เกิดความเสียหาน พระพุทธองค์ทรงทราบดี จึงตั้งระเบียบการจำพรรษาขึ้น ให้พระภิกษุสงฆ์หยุดพักการเดินทางระหว่างฤดูฝน กำหนดตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 รวมเวลา 3 เดือนเต็มเว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด

ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า “วิหาร” แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย เหตุประการสุดท้ายนี้ฐานพระพุทธรูปไป บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า“อาราม” ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังนี้เช่นปัจจุบันนี้
โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระ ตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าจำนำพรรษา หรือผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา
การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด รับว่าเป็นประโยชน์

week5

15  July  2013

อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอสืื่อวิทยาศาสตร์ ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

จากนั้นอาจารย์ให้ดู VDO  2เรื่องได้แก่
1.ISCI  ความฉลาดแบบยกกำลังสอง  เรื่อง "ลูกโปร่งรับน้ำหนัก"

2.รู้รอบโลกวิทยาศาสตร์ : เรื่อง "เมล็ดจะงอกไหม"

http://clip.thaipbs.or.th/home.php?vid=6536&ap=flase

ได้อะไรจากการเรียน
-ต้องให้สื่อที่ทำนั้นเด็กสามารถทำเล่นเองที่บ้านได้
-เด็กต้องได้ความรู้และความสนุกกับสื่อ

งานที่ได้รับมอบหมาย
1.สื่อวิทยาศาสตร์ เข้ามุม
2.สื่อการทดลองวิทยาศาตร์
3.สื่อประดิษฐ์วิทยาศาสตร์

วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Week 4

8 July  2013



อาจารย์ให้ออกมานำเสนอ ของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ได้เตรียมมาของแต่ละคน

ดิฉันได้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์คือ"ภาพยนต์มือถือ "


Week 3

วันจันทรที่1 กรกฏาคม พ.ศ.2556
1 July  2013
อาจารย์ให้นักศึกษาช่วยกันออกความเห็นถึงองค์ความรู้วิทยาศาสตร์


และอาจารย์ให้นักศีกษาดูVDOวิทยาศาสตร์เรื่อง"ความลับของแสง"

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Week2

วันจันทร์ที่  24 มิถุนายน  พ.ศ. 2556

อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ6คนและอ่านสรุปบทความที่อาจารย์ให้มาตามหัวข้อดังนี้คือ
1.ความหมายของวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก
2.ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
3.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
4.แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
5.อุปสรรคการเรียนรู้

และอาจารย์ให้กลุ่มของข้าพเจ้าได้สรุปข้อที่สามและให้หนึ่งคนในกลุ่มออกไปฟังความเห็นของกลุ่มเพื่อนกลุ่มอื่นว่ามีความเห็นอย่างอื่นนอกเหนือจากความเห็นข้อสรุปของกลุ่มตนเองอย่างไรและให้นักศึกษาคิดหาวิธีนำเสนอบทสรุปบทความของกลุ่มและของเพื่อนให้อาจารย์ดู 

อาจารย์ให้ดู vdo และอธิบายเกียวกับเนื้อหาvdoดังนี้

1.เนื้อหาvdoเรื่อง  น้ำ
2.มีอะไรบ้าง
รู้จักการเกิดของน้ำฝน
3.vdoเรื่องน้ำได้ทำกิจกรรมอย่างไรบ้าง

ได้จัดกิจกรรมการทดลองในเรื่อง
3.1การควบแน่นของน้ำ
3.2การระเหยการระเหิด
การดูvdoเรื่องนี้มีความน่าสนใจอย่างไร
เป็นvdoที่ดึงดูดความสนใจเด็กเพราะใช้ตุ้กตาและหุ่นยนต์เป็นตัวละครหลักในการดำเนินเรื่องและมีภาพการทดลองที่น่าสนใจและเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็กที่เด็กสามารถทดลองกลับครอบครัวได้จึงทำให้เด็กได้เข้าใจถึงความเป็นมาของน้ำได้มากขึ้น

สิ่งที่ได้รับจากการเรียน
-ได้เรียนรู้ในการอ่านจับใจความในเวลาสั้นๆ
-ได้รู้จักนำวิธีนำเสนองานในรูปหลายแบบมาประยุกต์ใช้มากขึ้น
-ได้รู้วิธีการนำเสนอสื่อเพื่อดึงดูดความสนใจเด็กมากขึ้น

มีทักษะอะไรบ้าง

-ได้ฝึกอ่านจับใจความ
-ได้ฝึกสรุปบทความทำความเข้าใจบทความ

สิ่งที่นำไปประยุกต์ใช้
-ฝึกอ่านจับใจความในบทความหรือหนังสือเรียนได้
-หาวิธีการนำเสนองานในหลากหลายรูปแบบไม่ใช่แค่นำเสนอแต่powerpointเพียงอย่างเดียว

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

week1


วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายนพ.ศ.2556


อาจารย์อธิบายรายวิชาของการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ในรายละเอียดของการเรียน    และได้ให้นักศึกษาเขียน "ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในรายวิชานี้"

จากนั้นคุณครูอธิบายชื่อวิชาและให้นักศึกษาทำความเข้าใจดังนี้


ถ้าพูดถึงวิทยาศาสตรนึกถึงอะไร


พัฒนาการคือการเปลี่ยนแปลงในการเจริญเติบดตตามช่วงอายุ

เพื่อได้จัดประสบการณ์ตรงตามพัฒนาการบ่งบอกว่า เด็กสามารถทำอะไรได้บ้างในช่วงอายุนั้นๆซึ่ง
ใช้เกณของพัฒนาการ เป็นเกณบอกความสามารถของเด็กในช่วงอายุ  ซึ่งการประเมิณเด็กนั้นสามารถทำได้โดยการสังเกต

พัฒนาการมี4ด้าน  ได้แก่   ร่างกาย   อารมณ์จิตใจ  สังคม   สติปัญญา


ได้ความรู้อะไรจากการเรียน

- เข้าใจ และสามารถอธิบายการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กเบื่องต้นได้
-เข้าใจความหมายของพัฒนาการ
-เข้าใจกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

นำไปประยุกต์ใช้อย่างไร

-สามารถนำไปใช้ในการสอนเด็กอนุบาลได้
-สามารถนำวิทยาศาสตร์ไปใช้ชีวิตประจำวันได้